วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ต้นเสี้ยวป่า

เสี้ยวป่า

       

ชื่อพื้นเมือง        คิงโค ส้มเสี้ยวโพะ ส้มเสี้ยว ชงโค เสี้ยวดอกขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์  Bauhinia saccocalyx Pierre
ชื่อวงศ์             LEGUMINOSAE CAESALPINIOIDEAE
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์
     ในประเทศ  ป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคใต้
     ในต่างประเทศ  พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม
ลักษณะทั่วไป     ต้นไม้  ไม้ต้นกิ่งรอเลื้อยขนาดเล็ก ยาวได้ถึง 10 เมตร ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมเตี้ย เปลือกนอกสีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องยาวตื้นและลึกตามลำต้น บางครั้งล่อนเป็นแผ่นบาง เปลือกในสีชมพูอ่อน
     ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่ กว้าง 5-9 ซม. ยาว 6-10 ซม. ปลายแยกเป็น 2 แฉก 1/3-1/2 ของใบ แฉกแคบถึงกว้าง โคนใบมนหรือรูปหัวใจ แผ่นใบบาง หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนและต่อมน้ำมันสีน้ำตาล เส้นแขนงใบออกจากกลางโคนใบ 9-11 เส้น ก้านใบยาว 2-3 ซม.
     ดอก  ออกรวมเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงคล้ายกาบแยกเป็น 2 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ ปลายทู่ ดอกบานเต็มที่กว้าง 8-10 มม. เกสรผู้ยาว 3 อัน เกสรเมียสั้น 5 อัน กลีบเลี้ยงหุ้มฐานดอกกลม แตกออกเป็นสองเสี้ยว
     ผล  ผลเป็นฝักเมื่อแห้งแตกแบนรูปดาบ ช่วงปลายกว้างและโค้ง ปลายผลแหลม ผลกว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 7-14 ซม. เมล็ดแบนกลม 3-5 เมล็ด แก่สีดำ
     ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล          ออกดอก   เม.ย.-พ.ค.
          ผลแก่       มิ.ย.-ก.ค.
     การขยายพันธุ์  เพาะกล้าจากเมล็ด ตอน ปักชำ
 การใช้ประโยชน์     ด้านเป็นไม้ประดับ  ยังไม่นิยมนำมาประดับบ้านนัก เนื่องจากเป็นเถาเลื้อยที่มีดอกสีขาว แต่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตัดแต่งหรือให้เลื้อยขึ้นค้างได้ น่าจะพัฒนาพันธุ์ให้ดอกมีสีสันมากขึ้นได้ ช่อดอกดกดีมาก
     ด้านสมุนไพร สรรพคุณ          ใบ  ใบผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้นต้มน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นยาฟอกโลหิต